เผย-'ซีเซียม'-30-ปี-สลายครึ่งเดียว!-เฝ้าระวัง-3-อาการ-อพยพหรือไม่ให้จังหวัดพิจารณา-–-ข่าวสด

ปลัด สธ.สั่งเฝ้าระวัง 3 กลุ่มอาการ ผิวหนังเนื้อตาย-ทั่วไป-เม็ดเลือดขาวต่ำ ในกลุ่มสัมผัส ‘ซีเซียม-137’ คนในโรงงานอันตรายสุด เผย 30 ปี สลายตัวครึ่งเดียว

เมื่อวันที่ 20 มี.ค.66 นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีท่อบรรจุสารซีเซียม-137 หายไปจากโรงไฟฟ้าใน อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี และพบว่าหลอมไปแล้ว ว่า ขณะนี้สำนังานปรมาณูเพื่อสันติ และจ.ปราจีนบุรี กำลังสอบสวนอย่างใกล้ชิด สธ.ก็มีนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด (นพ.สสจ.) ปราจีนบุรี ซึ่งเปิดหน่วยปฏิบัติการฉุกเฉิน (อีโอซี) ส่วนหน้าที่จังหวัด เพื่อติดตามสถานการณ์โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพประชาชน ผู้สัมผัส และผู้มีโอกาสสัมผัส

ซีเซียม137 1

รวมถึงเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร ทั้งนี้ สารกัมมันตรังสีมองไม่เห็น ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่มีรส แต่ตรวจจับได้ด้วยเครื่องมือว่า แผ่รังสีหรือไม่ การเกิดพิษขึ้นกับสารแต่ละชนิดที่มีอันตรายแตกต่างกัน ความเข้มข้นสาร ระยะเวลาสัมผัส และระยะห่างในการสัมผัส ก็จะมีความรุนแรงแตกต่างออกไป

20230320 112617

นพ.โอภาส กล่าวว่า อาการมีทั้งแบบเฉียบพลัน เช่น สัมผัสใกล้ชิด อยู่ในระยะที่ไม่ห่างนัก มีตั้งแต่อาการทำให้เซลล์เปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะเซลล์ที่ไปสัมผัส ผิวหนังอาจมีตุ่มพอง ตุ่มน้ำใส เกิดการอักเสบ หรือเนื้อตายได้ถ้าสัมผัสนานๆ หรืออาการทั่วไป เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ปวดหัว ท้องเสีย อุจจาระร่วง

ซีเซียม137 3

ส่วนผลระยะกลาง และระยะยาว ส่วนใหญ่สารกัมมันตรังสีจะไวต่อเซลล์ที่มีการแบ่งตัว เช่น เซลล์เม็ดเลือดขาว หรือเส้นผม ก็จะมีการเฝ้าระวังเชิงรุกใน 3 กลุ่มนี้ คือ 1.กลุ่มมีอาการทางผิวหนังและเนื้อเยื่อ 2.กลุ่มอาการทั่วไป คลื่นไส้อาเจียน และ 3.อาการผิดปกติผิดสังเกต จะลงรายละเอียด เช่น คนมีเม็ดเลือดขาวต่ำกว่าปกติจำนวนมาก ก็ให้ไปสอบสวนสาเหตุร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ส่วนขีดวงผู้เกี่ยวข้องนั้น คล้ายเวลาเกิดโรคติดต่อโรคระบาด ต้องตีวงใครเสี่ยงสูงสุด ต่ำสุด ส่วนที่กังวลว่าจะกระจายออกไปไกลนอกจังหวัดนั้น ต้องประสานข้อมูลสำนักงานปรมาณูฯ ตรวจสอบว่าตัวสารพิษแหล่งก่อเกิดปัญหาขอบเขตอยู่แค่ไหน กระจายตรงไหนอย่างไร แต่อย่างน้อยโดยหลักๆ คือ

1.คนในโรงงานกับละแวกใกล้เคียง ใครสัมผัสกี่คน ซึ่งเป็นกลุ่มเสี่ยงที่สุด ต้องตรวจสุขภาพร่างกายให้ครบถ้วนอย่างใกล้ชิด โดยตรวจสุขภาพทั่วๆ ไป สารปนเปื้อนมีหรือไม่ เช่น ตรวจหาสารซีเซียมในปัสสาวะ เป็นต้น กำลังประสานใกล้ชิดกับสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ ซึ่งมีห้องปฏิบัติการในการตรวจ สธ.จะระดมผู้เชี่ยวชาญมาให้ความรู้ต่อไป

2.บริเวณอำเภอนั้นๆ ให้ดูอาการตนเองมีอาการเกี่ยวข้องไหม

3.ใน จ.ปราจีนบุรี เบื้องต้นหลังจัดระบบเฝ้าระวังยังไม่มีอาการผิดปกติใน 3 กลุ่ม แต่คงไปเจาะข้อมูลให้ละเอียดขึ้น

ซึ่งหลังจากวันนี้เหตุการณ์ชัดขึ้น ประชาชนตื่นตัวมากขึ้นก็คงต้องทบทวนว่า ระบบเฝ้าระวังเรามีความไวเพียงพอหรือไม่ เพื่อตรวจจับความผิดปกติที่เกิดขึ้นได้ ตอนนี้ต้องปูพรมลงไปตรวจสอบให้แน่ชัดโดยเฉพาะบริเวณละแวกใกล้เคียงโรงงาน

ทั้งนี้ จะเฝ้าระวังจนกว่าเหตุการณ์เข้าสู่ภาวะปกติ หรือสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิสูจน์ทราบได้ว่า กัมมันตรังสีหมดไปหรือยัง หรือถูกเก็บเรียบร้อยหรืออยู่ในระยะปลอดภัยหรือยัง เหมือน PM 2.5 ต้นเหตุคือแหล่งเกิดสารพิษ ก็ต้องกำจัดหรือทำให้หมดสภาพจึงถือว่าปลอดภัย

“โรคนี้เกิดผลกระทบจากความเข้มข้นกัมมันตรังสี ระยะที่รับสาร ซึ่งคนหนุ่มสาวเกิดอาการได้หมด เราเฝ้าระวังทุกคนที่อยู่ในพื้นที่เกี่ยวข้อง หรือคนมีโอกาสสัมผัส เด็ก ผู้สูงอายุ โรคเรื้อรัง ร่างกายไม่ค่อยดี เวลารับสารต่างๆ อาจทำให้โรคเดิมกำเริบมากขึ้น แต่ย้ำว่าโรคนี้เป็นได้ทุกคน ไม่ได้แปลว่าแข็งแรงแล้วไม่เกิดโรค การเฝ้าระวังต้องอาศัยความเข้มข้น อย่าคิดว่าตัวเองแข็งแรงสัมผัสแล้วจะไม่เป็นอะไร แต่จับตาดูคนกลุ่มเสี่ยงเปราะบางเป็นพิเศษ

ส่วนต้องอพยพออกหรือไม่ ให้เป็นการพิจารณาและแถลงจากทางปราจีนบุรีและสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ แต่ สธ.เตรียมทุกอย่างไว้พร้อม ส่วนการตรวจสอบเฝ้าระวังในสิ่งแวดล้อมต้องอาศัยเครื่องมือพิเศษ เป็นหน้าที่ จ.ปราจีนบุรี และสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติเฝ้าระวัง” นพ.โอภาส กล่าว

ถามถึงระยะเวลาคงอยู่ของซีเซียม-137 นพ.โอภาส กล่าวว่า ซีเซียม-137 มีครึ่งชีวิต 30 ปี คือกว่าจะสลายตัวเหลือครึ่งเดียวใช้เวลา 30 ปี ไม่ว่าจะปนเปื้อนอยู่ที่ไหนทั้งสิ่งแวดล้อมหรือร่างกาย ทั้งนี้ หากเทียบเคียงกับเหตุการณ์เมื่อหลายสิบปีก่อนที่สารโคบอลต์ 60 ที่ใช้รักษาคนไข้หลุดรอดหายไป มีคนไปเก็บมามีผู้เสียชีวิต 3 ราย และประสบภัยจำนวนหนึ่ง ซึ่งกรณีซีเซียม-137 ความเข้มข้นไม่เท่ากับโคบอลต์ 60

ถามถึงกรณีนักท่องเที่ยวยกเลิกจองบุ๊กกิ้งมาเที่ยวเพราะกังวล นพ.โอภาส กล่าวว่า ความชัดเจนอยู่ที่จังหวัด ไปสอบสวนโรคแล้ว สารกัมมันตรังสีอยู่ตรงไหนอย่างไร หลอมไปแล้วหรือยัง การตรวจจับกัมมันตรังสีที่มีการรั่วไหลหรือปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อมมีมากแค่ไหน

หัวใจสำคัญ สธ.กำลังติดตามข้อมูลเรื่องนี้ คนอื่นไม่ต้องกังวลมากเกินไป ต้องติดตามข้อมูลว่าหากอาการผิดปกติ ย้ำว่าไม่แน่ใจไปพบเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เพื่อรวบรวมข้อมูลต่างๆ ดูว่ามีความเชื่อมโยงหรือไม่

 

THE FIRST E-COMMERCE SPECIALIZED ON FRESH TRUFFLES – TRUFFLEAT.IT

3A045EF7 DB7B 41A2 9BE9 FE6D2E9082DE 262x300 1

Leave a Reply